วัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี

วัดราษฎร์ - พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) องค์อุปถัมภ์วัด
วัดปัญญานันทาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๐ ตําบลคลองหก อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันมีเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๑๙ ตารางวา ทิศเหนือติดต่อกับถนนหมู่ ๑๐ และที่ดินเอกชน ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนสายรพช. โครงการที่ ปท.๔๑๔๒ สายทางเข้าวัดปัญญานันทารามและถนนคลองหลวง - หนองเสือ และที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนหมู่ ๑๐ โดยพื้นที่ตั้ง เป็นที่ราบลุ่มอยู่ใกล้คลองชลประทาน บริเวณใกล้ เคียงเป็นที่นาสวน และบ่อเลี้ยงปลา

ประวัติความเป็นมาของวัดปัญญานันทาราม

จากผืนนาจํานวน ๖ ไร่ ใน ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ของนายพิชิต -นางจํารัส ทองสีม่วง สองสามีภรรยาชาวบ้านในท้องถิ่น ได้ถวายที่ดินให้เป็นสมบัติพระศาสนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และจัดตั้งเป็น "สํานักสงฆ์สนเฒ่า" ต่อมาโดยการประสานงานของนางบุญส่ง โพธิจันทร์ ได้ร่วมกันถวายสํานักสงฆ์นี้แด่พระเทพวิสุทธิเมธี (หลวงพ่อปัญญานันทะ) องค์ประธานศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา วัดชลประทานรังสฤษฏ์ (ที่ ระลึก ๘๐ ปี ปัญญานันทะ) เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๕

วันที่่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๗ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า "วัดปัญญานันทาราม" และคณะศิษยานุศิษย์ โดยศูนย์สืบอายุพระพุทธศาสนา ได้ร่วมใจซื้อที่ ดินเพื่มเติม เพื่อสร้างวัดปัญญานันทารามเป็นธรรมสมโภช ๘๔ ปี พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) โดยมี พระครูปลัดศีลวัฒน์ (สง่า สุภโร) พระมหามานพ ปญฺญาวชิโร และพระมหาสมโภช ฐิติญาโณ จากวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ร่วมสนองงานก่อสร้างวัด และกิจกรรมเผยแผ่พระศาสนา ปัจจุบันมีเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๕๙ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๕

ทําเนียบเจ้าอาวาส

๒๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ - ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ พระเทพวิสุทธิเมธี (ปั่น ปฺุญานนฺโท) รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน พระครูสีลวัฒนาภิรม (สง่า สุภโร) เจ้าอาวาส

วัตถุประสงค์ในการสร้างวัด
๑. เพื่อเป็นพุทธบูชา
๒. เพื่อเป็นสถานที่บําเพ็ญกุศลของสาธุชนทั่วไป
๓. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมผู้ใฝ่ในการศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่พระธรรม
๔. เพื่อเป็นธรรมสมโภช ๘๔ ปี พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ )
๕. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบ ๕๐ ปี

อุดมการณ์และจุดมุ่งหมายของวัดปัญญานันทาราม
ด้วยเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ที่มุ่งมั่นให้ "สถานที่เป็นแผ่นดินส่วนนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาต่อไป สถานที่นี้เหมาะแก่การส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า เป็นเหมือนโรงพยาบาลทางใจของชาวโลกทั้งหลายที่มีความทุกข์ ความเดือดร้อนวุ่นวายใจ เมื่อมาสู่สถานที่นี้ก็จะได้พบความสะอาด สว่าง และสงบ ในส่วนจุดมุ่งหมายของวัดปัญญานันทาราม ท่านกล่าวว่า "สร้างพระ สร้างคน สร้างเยาวชนของชาติ สร้างศาสนทายาทให้มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างถูกต้อง ให้มีชีวิตเรียบร้อยตามหลักคําสอนของพระพุทธศาสนา เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอํานาจวัตถุ มากเกินไป"

ร่มเย็น ใต้ร่มพระบารมี

เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดําเนินทรงวางศิลาฤกษ์ สร้างวัดปัญญานันทาราม และทรงปลูกต้นสาละเพื่อเป็นอนุสรณ์ ณ สวนสาละ และพระราชทานนามว่า "สวนสาละสมเด็ จพระเทพรัตนราชสุดา" และเมื่อการก่อสร้างอาคารหลังใหญ่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้นามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ" และได้อัญเชิญตราสัญญลักษณ์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ประกอบไว้ ที่หน้าบรรณต่อมาวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๑ ได้เสด็จพระราชดําเนินอีกวาระหนึ่ง เพื่อทรงเป็นประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ และทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระประธานประจําอุโบสถวัดปัญญานันทาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๒ นิ้

การแบ่งเขตวัดและงานพัฒนา

วัดปัญญานันทารามเป็นวัดที่จัดสร้างเจริญรอยตามพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า และเพื่อสนองงานพระเดชพระคุณหลวงพ่อปัญญานันทะ เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่พุทธธรรม

การจัดวางผังวัดกําหนดเป็นรูปแบบชัดเจน ทั้งฝ่ายภิกษุ และฆราวาสเพื่อการปฏิบัติ ตามหลักพระธรรมวินัย เอื้อเฟื่อต่อวัฒนธรรมประเพณี เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในสังคมพุทธบริษัท ได้มีการแบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส เพื่อพัฒนาด้านศาสนวัตถุให้เกื้อกูลต่อการสร้างศาสนบุคคลอย่างเหมาะสม

เขตพุทธาวาส (คือที่อยู่ของพระพุทธเจ้า)

เพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม และปรินิพพานกลางดิน ใต้ร่มไม้ตามธรรมชาติ จึงได้จัดสร้าง "อุโบสถธรรมชาติ " ถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมองค์ประกอบอื่น อาทิเช่น : - สวนสาละสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, ลานธรรมกาญจนาภิเษก, สวนอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วย และสวนป่าสมุนไพร

เขตสังฆาวาส (เขตที่อยูู่ของหมู่พุทธบริษัท ๔)

ตามที่พระพุทธองค์ได้มอบพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัท ๔ ดังนั้นเขตสังฆาวาสจึงไม่ได้หมายเฉพาะเขตที่อยู่ของพระภิกษุเท่านั้น แต่เป็นที่อยู่ของพุทธบริษัท ๔ จึงได้จัดแบ่งเขตสังฆาวาส เป็น ๔ เขต คือ เขตภิกษุ, เขตภิกษุณี (แม่ชี) , เขตอุบาสก และเขตอุบาสิกา และจัดสร้างศาสนวัตถุ ให้เกื้อกูลแก่การสร้างศาสนบุคคลเพื่อสร้างพระ สร้างคน สร้างเยาวชนของชาติ ให้เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระศาสนา

การพัฒนาศาสนวัตถุ

การก่อสร้างศาสนวัตถุภายในวัดมีเท่าที่จําเป็นแก่การใช้สอยงานเผยแผ่พระศาสนา และจัดสร้างให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ที่อุดมไปด้วยร่มไม้ และพืชพรรณนานาชนิด ได้แก่ :- ศาลาการเปรียญ, โรงครัว, เรือนพยาบาล, ศาลาสุญญตา,ศาลาธรรม, กุฏิพระภิกษุ , อาคารพักอุบาสิกา (แม่ชี) , เรือนพักผู้ฏิบัติธรรมชาย - หญิง นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ได้จัดสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวิถีชีวิตชาวพุทธ ที่เปลี่ยนแปลง เช่น :-

อาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารเอนกประสงค์ ๓ ชั้น ใช้เป็นหอสวดมนต์ ห้องประชุม และที่ชั้นสองและสามได้แบ่งเป็นห้องเพื่อใช้เป็นห้องพักพระวิทยากร ,ห้องคอมพิวเตอร์ , ห้องโครงการธรรมทานเพื่อปํญญาบารมี , ห้องบริการหนังสือและเทปธรรม , ที่ทํ าการมูลนิธิวัดปัญญานันทาราม , ห้องสมุด และห้องภาวนา

อาคารสํานักงานกลาง ใช้เป็นสถานที่ติดต่อ - ประสานงาน และอํานวยความสะดวกแก่ญาติโยม พุทธศาสนิกชนผู้มาเยือน

การพัฒนาศาสนบุคคล

ในส่วนงานเผยแผ่พระศาสนาจะมีเยาวชนหญิง - ชาย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการ ประชาชน ตลอดทั้งพระภิกษุ - สามเณร เข้ารับการอบรมจริยธรรมที่วัดปัญญานันทาราม อย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกวัน ทั้งนี้แนวทางการดําเนินงานมุ้งเน้นสร้างความสํานึก อยู่ง่าย กินง่าย ถูกใจมนุษย์ สิ้นสุดปัญหา ยึดหลักความเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงที่ต้องดําเนินตามหลักเกณฑ์ของสังคม จึงได้ จัดกิจกรรมและโครงการรวม ๑๘ โครงการ ดังนี

โครงการสําหรับพระภิกษุ - สามเณร

โครงการอบรมพระภิกษุ "ไตรสิกขา" เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ปฏิบัติตามพุทธประสงค์ คือ ดําเนินชีวิตด้วยศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ตลอดระยะ ๓ ปี พระภิกษุ จะมีโอกาสเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองด้วยการศึกษาจริง ปฏิบัติจริง และร่วมกันประพฤติปฏิบัติ รักษาพระธรรมวินัย และได้ฝึกทํางานเผยแผ่พระศาสนา ด้วยอุดมการณ์อยู่อย่างเรียบง่าย ตามวิถีชีวิตที่แสวงหาความจริง ความงาม และความดี เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชน
ได้เปิดอบรมรุ่นแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๙

โครงการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

เป็นการให้การศึกษาพื้นฐานและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแก่พระนวกะ และฝึกฝนอุปนิสัย กิจวัตรของพระภิกษุในช่วงฤดู เข้าพรรษาให้สมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น ซึงทําให้ผู้ศึกษาได้แนวทางในการศึกษาพระปริยัติธรรมและเข้าใจหลักศาสนาและศาสนพิธีอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ได้ส่งเสริมให้พุทธบริษัทได้รับการศึกษาแผนกธรรมศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกิดอิทธิบาทธรรมในการศึกษาและปฏิบัติ ได้เปิ็ดอบรมรุ่นแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๙

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

๑ เดือน ระหว่างปิดภาคการศึกษา ด้วยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ทีร่วมกันจัดระบบให้เยาวชนได้เติบโต และเรียนรู้พัฒนาชีวิตด้วยความมุ่งมั่นอย่างมีศรัทธา ซื่อตรงต่อความจริง ความงาม และความดี เพื่อชีวิตตนเอง และสังคม เป็นการสร้างศาสนทายาทให้เรียนรู้พระพุทธศาสนาและนําไปใช้ ในชีวิตประจําวัน ให้มีอุปนิสัยที่ดีงามด้วยการฝึกตนให้เป็นคนบังคับตนเองได้ จนมีคุณภาพ คือ คิดดีเป็น พูดดีเป็น ทําดีเป็น คบคนดีเป็น และไปสู่สถานที่ดีเป็น และเกิดความสํานึกและตระหนักในความกตัญญู ประพฤติตน เป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเยาวชนที่ดีของชาติ และศาสนิกที่ดีของพระศาสนา เป็นการฝึกให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และช่วยป้องกันปัญหาอันเกิดจากเยาวชน
ได้เปิดอบรมรุ่นแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๙

โครงการโรงเรียนการเผยแผ่พุทธธรรมปัญญานันทะ (ที่ระลึก ๙๐ ปี ปัญญานันทภิกขุ)

เป็นอีกหนึ่งโครงการสําหรับพระภิกษุสงฆ์ ผู้มีความสนใจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นพิเศษ มีความรู้นักธรรมชั้นเอก และอายุพรรษา ๓ พรรษา ขึ้นไป ประสงค์ร่วมสืบอายุพระพุทธศาสนาตามพุทธประสงค์ และสืบทอดเจตนารมณ์การเผยแผ่พุทธธรรมของพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ ) ศึกษามุ่งทําความเข้าใจ ตีความ ประยุกต์พุทธธรรม เพื่อการสื่อสารแก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจพระพุทธศาสนาให้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้นอกจากพระนักเผยแผ่ จะได้รับการฝึกอบรมศึกษางานเผยแผ่ ภาคปฏิบัติอย่างเหมาะสม แล้วจะได้มีโอกาสเจริญภาวนาทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติ อย่างถูกต้อง อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ แก่ ผู้มุ่งเจริญสติ เพื่อเป็นฐานในการแก้ปัญหาชีวิตการฝึกอบรมแบ่่งเป็น ๓ ช่วง ฝึกอบรมภาคปริยัติ (เรียนรู้จากประสบการณ์จริง) , การฝึกอบรมภาคสนาม (สู่วิญญาณนักเผยแผ่) และฝึกอบรมภาคภาวนา (ความมั่นคงของนักเผยแผ่)
ทั้งนี้ ด้วยความเมตตา พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) รับเป็นประธานอํานวยการ
ได้เปิดอบรมรุ่นแรก (พุทธสาวก) เมื่อ ปี ๒๕๔๔

โครงการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี

การศึกษาภาษาต้นกําเนิดของพระพุทธศาสนา อันจักได้รับความรู้ทั้งธรรมและบาลี เพื่อการเข้าใจตีความ ประยุกต์ พุทธธรรมอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง จักนําสู่การเผยแผ่คําสอนได้ อย่างถูกต้องและปฏิบัติอย่างเหมาะสม จึงได้จัดการศึกษาเพื่อทําความเข้าใจ ตีความ ประยุกต์ พุทธธรรม เพื่อการสื่อสารแก่พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง จักได้พระภิกษุ - สามเณร มีความรู้ทั้งทางธรรมและบาลี และเป็นผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนามีความรู้และมีคุณภาพมากขึ้น
ทําการเปิดสอน ในปี ๒๕๔๔ เป็นปีแรก

โครงการเพื่อเยาวชน "ค่ายพุทธบุตร"

การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวิถีชีวิตของคนในสังคมบริโภคนิยมซึ่งเน้นการแข่งขันด้านวัตถุและฐานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาสังคมก็ติดตามมา เช่น ความยากจน การใช้แรงงานเด็ก เด็กเร่ร่อน ยาเสพติด อาชญากรรมต่าง ๆ และปัญหาต่างมีผลสะท้อนถึงเยาวชนและยิ่งกว่านั้นหลายปัญหาเป็นปัญหาที่เกิดจากเยาวชน

ในปัจจุบันเยาวชน นิสิต นักศึกษา กํ าลังหลงเพลิดเพลินในกระแสค่านิยมโลกตะวันตก ละทิ้งคําสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เห็นว่าเป็นสิ่งงมงาย ไร้สาระ ล้าสมัย ทําให้ขาดการยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ที่ให้ ความมั่นคงสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทําให้มีแนวโน้มในการดําเนินชีวิตที่ผิด อาจเกิดความเครียดจนฆ่าตัวตาย เสื่อมศีลธรรมและหันพึ่งยาเสพติด

เยาวชนคืออนาคตของชาติ และวงศ์ตระกูลการที่สังคมประเทศชาติ จะเจริญก้าวหน้าและมั่นคงได้นั้น เยาวชนจึงต้องมีความรู้ และศีลธรรมควบคู่กัน เพื่อให้เยาวชนมีจริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมในการดํารงชีวิตที่ เหมาะสม การพัฒนาเยาวชนจึงควรให้โอกาสทั้งชายและหญิงและเป็นไปอย่างเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ เกื้อกูลต่อการประหยัด มุ่งให้เกิดประโยชน์ สร้างจิตสํานึก สร้างภูมิต้านทานให้กับตนเองด้วยคุณธรรม "อ่านตนออก บอกตนเองได้ ใช้ตนเองเป็น" ให้เป็นผู้มีชีวิตอยู่อย่างรู้เท่าทันโลก เพื่อเกื้อกูลทั้งแก่ตนเองและประเทศชาติในที่สุด

ร่วมสร้างชาติผ่านเยาวชน "ค่ายพุทธบุตร" ๒ คืน ๓ วั น โดยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
ได้เปิดอบรมรุ่นแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๙

โครงการสร้างคุณภาพชีวิต "ค่ายคุณธรรม"

เราเคยพิจารณาบ้างไหมว่า วัยเด็กมีความสนุกไปอย่างหนึ่ง วัยหนุ่มสาว มีความเพลิดเพลินไปอย่างหนึ่ง วัยกลางคนมีความพอใจไปอย่างหนึ่ง วัยแก่เฒ่าชราก็ต้องมีความสงบเย็นไปอีกอย่างหนึ่ง ชีวิตคนเราต้องการความสุขแบบไหนกันแน่ ทําอย่างไรเราจึงมีความสุขได้ทุกวัยหรือเอาตัวรอดได้เราจึงต้องค้นหาตัวเองให้เจอ ตอบตนเองให้ได้ ว่าเกิดมาทําไม? สิ่งที่ดีที่สุดสําหรับชีวิตคืออะไร? เงินก็ซื้อให้ไม่ได้ ชื่อเสียงก็ช่วยไม่ได้ มิตรสหายบริวารก็ช่วยทําให้ไม่ได้มีเพียงพระธรรมเท่านั้นที่จะหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้ สดชื่น มีความสุข สงบเย็น ได้ทุกวัย ทั้งยามเด็ก หนุ่มสาว วัยกลางคน หรือแก่ชรา

พระธรรมช่วยดับความทุกข์ร้อนให้ทุกครั้งที่เกิดขึ้นในการประกอบงานทุกชนิดดังพุทธพจน์ ว่า 'ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจาริงฺ' ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ

"ค่ายคุณธรรม" สําหรับ ข้าราชการ และหน่วยงานที่ประสงค์เข้ารับการอบรม ตั้งแต่ ๒ คืน ๓ วัน เป็นต้นไป
ได้เปิดอบรมรุ่นแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๙

โครงการสําหรับประชาชนทั่วไป

โครงการเพิ่มโอกาสบวชธรรมจาริณี

จากแนวคิดเรื่องชีวิตทางกายอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ ทางจิตวิญญาณอยู่ด้วยคุณธรรม การมีชีวตที่ แสวงหาแต่ปัจจัยสี่เป็นชีวิตที่แสวงหาความสุขทางกายโดยส่วนเดียว เราจึงประสบภาวะทั้งส่วนบุคคลและสังคม ดังนั้นเราควรแสวงหาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขทางจิตคือ ธรรมะ จะได้มีชีวิตอยู่ด้วยสติ ปัญญา และเพื่อให้จิตใจได้พบความสุขสงบเย็นของชีวิตโดยมีรากฐานจากประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกอันลํ้าค่าของชาติ การบวชเป็นการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นกิจกรรมฝ่ายดีที่ชาวพุทธทุกเพศ ทุกวัยมีสิทธิร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง และขยายผลไปยังผู้อื่น ไม่จํากัดจํานวน เวลา และสถานที่ การบวชธรรมจาริณีเป็นการให้โอกาสแก่ชีวิตในการนําตนเองเข้าหาธรรมะเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๗

โครงการสืบสานวัฒนธรรมรักษาอุโบสถ (วันพระ)

ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของความดี ด้วยความละเอียดอ่อนของบรรพบุรุษจึงได้หาแนวทางเพื่อสร้างความดี ให้แก่ลูกหลานและสานสัมพันธ์ สายใยครอบครัวทําให้ผู้สูงอายุ ไม่ถูกทอดทิ้งไว้ ในบ้านคนชราอันเป็นความพิการของสังคม บรรพบุรุษของเราได้อาศัยการฝึกตนโดยหลักของศาสนาที่มาจากรากฐานของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิต คือการสร้างความสํานึกให้เกิดขึ้นเพื่อความรอดของชีวิต ทั้งทางกายและทางจิต จึงทําความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับชีวิตและสังคม ณ เวลานี้ สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป วันพระเคยทําหน้าที่สืบสานอริยธรรมของมนุษย์ กําลังถูกลบเลือนไปจากความทรงจําเพราะการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากจันทรคติ สู่สุริยะคติ อริยธรรมของมนุษย์จําเป็นต้องได้รับการรักษา และปฏิบัติ สืบต่อไปเพื่อให้มนุษย์ กล้า ลด ละ เลิก ฝึกตนให้เป็นคน "อยู่ง่าย กินง่าย ถูกใจมนุษย์ สิ้นสุดปัญหา"
ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๗

โครงการชีวิตใหม่ (บําเพ็ญบารมีวันอาทิตย์)

การเกิดของคนมีได้สองทาง เกิดครั้งแรกเกิดจากครรภ์มารดา เกิดเป็นชีวิตร่างกาย และเกิดทางจิต เกิดได้หลายครั้ง หลายเหตุการณ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นความจริง (อนิจจัง) การเกิดทางจิตด้วยความปรารถนากระวนกระวาย อยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น การเกิดเช่นนี้จึงเป็นทุกข์รํ่าไป ดังนั้นการเปลี่ยนจากความรู้สึก ความปรารถนาเดิม ๆ ให้เป็นความรู้สึก ความนึกคิดปรารถนาการกระทําที่เป็นไปตามธรรม เขาจึงเกิดเป็นชีวิตใหม่ สังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนวิถี จนเกิดความสับสน กายกับจิตไม่สัมพันธ์กัน เพื่อให้โอกาสแก่ชีวิต นั้นคือวันจันทร์ - ศุกร์ มีภาระต้องทํางาน วันเสาร์ - อาทิตย์ เป็นเพียงวันพักผ่อนทางกาย จิตจึงไร้ทิศทางเป็นความล้มเหลวของระบบชีวิต เราจัดโอกาสให้ เพียงแต่กายได้พักผ่อน แต่จิตกลับไม่มีเวลาให้หยุดคิดแม้เพียงเสี้ยวหนึ่ง เพื่อได้สัมผัสถึงความสงบเย็น เมื่อวัฒนธรรมในสังคมไทยได้เปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลก ความห่างเหินทางวัฒนธรรมได้ เกิดขึ้น แต่คุณค่าพิเศษของมนุษย์อยู่ที่การปรับตัวได้ การปรับตัวเพื่อให้โอกาสชีวิตเป็นความจำเป็น เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชีวิต สงเคราะห์ตนเองและสังคมด้วยการปรับตัวเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ใช้วันอาทิตย์ให้โอกาสแก่ตัวเองทั้งกายและจิต ชีวิตก็สมบูรณ์แม้เพียงวินาทีหนึ่งก็ตาม
ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๗

โครงการสร้างความสุขด้วยการบําเพ็ญบุญ (วันสําคัญต่าง ๆ)

ความสุขมี ๒ ระดับคือ สามิสสุข ความสุขที่อิงอามิส คือกามคุณ ๕ มีวัตถุ เป็นเครื่องล่อใจให้ เพลิดเพลินและปรารถนายิ่งขึ้นไป โดยเฉพาะกิน กาม เกียรติ ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมที่เกิดขึ้น เพราะต่างก็แสวงหาความสุข อีกระดับที่เรียกว่า นิรามิสสุข คือความสุขที่ไม่อิงอามิส ไม่ต้องอาศัยวัตถุเป็นเครื่องให้ความสุข หรือออกจากกามคุณ ๕ ออกจากกิเลสเป็นความสุขจากการไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตาคํ้าจุนโลก และนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง การแสวงหาความสุขตามหลักธรรม เป็นความสุขสงบเย็นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกื้อกูลชีวิตมนุษย์ และมนุษย์เท่านั้นที่เข้าถึงได้ด้วยการให้ ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา เพื่อชีวิตได้พบความสุขแท้จริงคือ สะอาด สว่าง สงบ
ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี ๒๕๓๗

โครงการวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

วิปัสสนาเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติด้วยการใช้สติกํ าหนดดูอาการทางกายและจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ขณะที่มีสติกําหนดอยู่ กิเลส (โลภ โกรธ หลง) ไม่อาจเข้าครอบงําจิตได้ บางครั้ง ขาดสติ เผลอไป เมื่อรู้ตัวก็ตั้งสติตามกําหนดกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตจนกิเลสหายไป จิตกลับสู่ภาวะบริสุทธิ์ดังเดิม ปัญหาหรือความทุกข์จากการกระทําผิดทางกาย วาจา ใจ ก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการศึกษาปฏิบัติให้มากกิเลสและความทุกข์ ย่อมลดลง ความสงบสุ ขในจิตใจย่อมมีมาก เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชีวิต สงเคราะห์ตนเองและสังคม ด้วยการปรับตัวเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงเพื่อความถูกต้องกับโลกและชีวิต และสร้างสรรค์แบบอย่างทีีดีงามให้แก่สังคม ทําให้รู้จักการดําเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท คือได้เจริญอัปปมาทธรรม สร้างครอบครัวเป็นสุข สังคมร่มเย็น ประเทศชาติมั่นคง ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี ๒๕๔๔

วัดปัญญานันทาราม
ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๐ ตําบลคลองหก อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
โทร.๐๒ - ๙๐๔-๖๑๐๑ ถึง ๒ โทรสาร. ๐๒ - ๙๐๔-๖๐๖๕
ความสำคัญ : ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรต์ จังหวัดปทุมธานี - พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) องค์อุปถัมภ์วัด
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
เว็บไซต์วัด : http://www.watpanya.org
แผนที่วัด : คลิ๊กเพื่อดูแผนที่วัด
Find the best web hosting service and read ipage review for more information.
มูลนิธิภิกขุปัญญานันทะ | Develop by บ้านจิตอาสา | Webmaster : [email protected]